วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

แบบฝึกหัดบทที่7 การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ

1.จงอธิบายความหมายของระบบมาพอสังเขป
                ตอบ  ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากันโดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระบบ(System)คือกระบวนการต่างๆที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้นและเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ระบบ(System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกันและเพื่อให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์ จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน

2.นักศึกษาคิดว่าระบบมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ
                ตอบ  ระบบจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับส่วนย่อยหรือองค์ประกอบอื่นหลายส่วน เช่น บุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการ วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ หากไม่มีระบบในการทำงานก็จะทำให้ยุ่งยากมากขึ้นจากเดิม หรือทำไม่ได้เลย เช่น ระบบในร่างกายของเราจะต้องประกอบไปด้วยระบบเส้นประสาท ระบบขับถ่าย ระบบหายใจระบบไหลเวียนของโลหิต ฯลฯ

3.เหตุใดจึงต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                ตอบ  การวิเคราะห์และออกแบบระบบมีความสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ระบบเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะนักวิเคราะห์ระบบต้องติดต่อกับคนหลายคน ได้รู้ถึงการจัดการและการทำงานในองค์การ ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์หลายแบบมากขึ้น ผู้ที่สามารถวิเคราะห์ระบบได้ดี ควรมีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม มีความรู้ทางด้านธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและฐานข้อมูล ซึ่งใช้เป็นความรู้ในการออกแบบระบบที่มีความแตกต่างกันออกไปตาม สภาพงาน

4.นักวิเคราะห์ระบบคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง
                ตอบ  คือบุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ การที่มีนักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นเป็นการได้เปรียบ เพราะจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้นๆเป็นอย่างไรและอะไรคือความต้องการของระบบ

5.นักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
                ตอบ  1. มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
                2. มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
                3. มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
                4. ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดในรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ รวมทั้งองค์ ประกอบภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบ
                5. มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันก่อให้ เกิดผลเสียแก่องค์กร
                6. ต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
                7. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่ม
                8. สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
                9.) มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและ ตรงกัน
                10. มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
                11. สามารถทำงานภายในภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย
                12. เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างถูกต้อง

6.วงจรการพัฒนาระบบคืออะไร ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ  วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) เป็นวงจรที่แสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ริเริ่มจนกระทั่งสำเร็จ วงจรการพัฒนาระบบนี้จะทำให้เข้าใจถึงกิจกรรมพื้นฐานและรายละเอียดต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอนด้วยกัน

7.การกำหนดความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement) มีความสำคัญอย่างไร
                ตอบ   1. ความต้องการที่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Functional Requirement)
                                1.1 คำบรรยายเกี่ยวกับการประมวลผลซึ่งระบบจะต้องทำ
                                 1.2 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่จะป้อน เข้าสู่ระบบ
                               1.3 รายละเอียดเกี่ยวกับผลลัพธ์
                               1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้ในระบบ
                                1.5 รายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุม
                2.  ความต้องการที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Non-Functional Requirement) แต่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของระบบ ทำให้ได้มาซึ่งความต้องการที่เกี่ยวกับ หน้าที่ของระบบ ได้แก่
                                2.1 เกณฑ์ในหารปฏิบัติงาน (Performance Criteria) เช่น เวลาในการตอบสนองในการแก้ไขข้อมูลในระบบ หรือ การรับข้อมูลจากระบบ
                                2.2 ปริมาณข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่จะต้องรวบรวม หรือเก็บไว้ในระบบ
                               2.3 ความปลอดภัยของระบบ
                3. ความต้องการเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งาน (Usability Requirement)
                                3.1 ลักษณะผู้ใช้ที่จะใช้ระบบ
                                3.2 งานที่ผู้ใช้จะต้องทำ รวมทั้งเป้าหมายที่เขาจะพยายามบรรลุ
                                3.3 ปัจจัย หรือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้ระบบ
                                3.4 เกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งผู้ใช้จะใช้ในการตัดสินเมื่อนำระบบไปใช้

8.เทคนิคการรวบรวมข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) คืออะไร จงอธิบาย
                ตอบ  คือเทคนิคที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานต่างๆแผนผังองค์กร แบบสอบถาม การสังเกต รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานและผู้เกี่ยวข้องกับระบบเป็นต้น

9. Gantt Chart คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
                ตอบ  เป็นแผนภูมิแท่งชนิด Bar Chart อย่างหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ การเขียน Gantt chartจะต้องกำหนดเวลาของแต่ละโครงงาน ซึ่งจะแสดงภาพรวมของโครงการนั้น ๆ ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ระบบได้ อย่างเข้าใจและรวดเร็วมากขึ้น
                Gantt chart ที่สร้างในส่วนบนตามแนวนอนของตารางจะแสดงหน่วยของเวลา ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือหน่วยเวลาตามที่นักวิเคราะห์ระบบกำหนด ส่วนด้านข้างตามแนวตั้งของตาราง บรรทัดบนสุดจะเป็นชื่อโครงการ บรรทัดถัดมาจะเป็นรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หรือขั้นตอนของโครงการซึ่งมักตั้งชื่อง่าย ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ว่าโครงการนั้นทำอะไร

10. Tester คือใคร มีหน้าที่อะไร
                ตอบ คือ ผู้ทดสอบระบบ ทำหน้าที่ทดสอบระบบ เมื่อได้โปรแกรมหรือระบบตามที่พัฒนาโปรแกรมได้เขียนไว้แล้

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6

แบบฝึกหัดบทที่6 ข้อมูลและการจัดการข้อมูล

1. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติพื้นฐานของข้อมูลที่ดี คือ
- ความถูกต้อง (accuracy) ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการประมวลผล จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงหรือถูกต้องตรงกันกับแหล่งข้อมูลนั้น เพราะหากนำข้อมูลที่ผิดมาประมวลผล จะทำให้ได้สิ่งที่ต้องการผิดพลาดตามไปด้วย
- มีความเป็นปัจจุบัน (update) ข้อมูลซึ่งอยู่ช่วงเวลาหนึ่งในอดีต อาจไม่สามารถนำมาใช้ได้กับอีกช่วงเวลาในปัจจุบันได้ การพิจารณาเลือกเอาข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการประมวลผลจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง
- ตรงตามความต้องการ (relevance) ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด ถือเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ข้อมูลที่ถึงแม้จะถูกต้องมากแค่ไหนก็ตาม แต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการก็ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือช่วยในการตัดสินใจใดๆได้
- ความสมบูรณ์ (complete) ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผล บางครั้งอาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายๆครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์จริงๆ ความสมบูรณ์นี้อาจหมายถึงข้อมูลนั้นต้องมีความครบถ้วนด้วย เช่น ในระบบงานบุคลากรหากเราสนใจเพียงแค่ข้อมูลของพนักงานเฉพาะวุฒิการศึกษาและความสามารถเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้สนใจเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับวันเกิดหรือเพศของพนักงาน กรณีที่นำเอาข้อมูลไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาบุคลากร อาจเอาไปใช้ได้อย่างไม่เต็มที่ เพราะบอกไม่ได้ว่าพนักงานแต่ละเพศหรือมีช่วงวัยที่ต่างกัน มีความสามารถที่แตกต่างกันจริงหรือไม่ (เพราะข้อมูลไม่มีความสมบูรณ์นั่นเอง)
- สามารถตรวจสอบได้ (verifiable) ข้อมูลที่ดี ควรตรวจสอบแหล่งที่มาหรือหลักฐานอ้างอิงต่างๆได้ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อการนำมาประมวลผล ข้อมูลที่ขาดการตรวจสอบหรือไม่มีความน่าเชื่อถืออาจเป็นกลลวงของคู่แข่งขัน หรือทำให้การประมวลผลได้ข้อมูลผลลัพธ์ที่ผิดตามไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลเสียหายในภายหลังได้

2. ข้อมูลภายในสถาบันการศึกษาที่ท่านสังกัดอยู่ มีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ สถาบันการศึกษา ที่ดิฉันสังกัดอยู่ ประกอบด้วย
- จำนวนนักศึกษาทั้งหมดในสถาบัน ซึ่งสามารถแยกหรือหาข้อมูลย่อยๆได้อีกเช่น จำนวนนักศึกษาชาย จำนวนนักศึกษาหญิง จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท เป็นต้น ข้อมูลภายในเหล่านี้อาจดูได้จากหน่วยงานด้านสถิติและทะเบียนนักศึกษาของสถาบันที่สังกัด
- หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับต่างๆ ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการศึกษา ถือเป็นข้อมูลภายในเช่นเดียวกัน ซึ่งในหลายสถาบันอาจมีข้อมูลของหลักสูตรที่ไม่เหมือนกันได้ เช่น ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญา หรือรายละเอียดของหลักสูตรที่ใช้สอน เป็นต้น ข้อมูลภายในเหล่านี้อาจดูได้จากหน่วยงานฝ่ายวิชาการที่กำกับดูแลด้านหลักสูตรโดยตรง
- คณะหรือสาขาวิชาที่มีอยู่ จำนวนคณะหรือสาขาวิชาในแต่ละสถาบันการศึกษา อาจมีจำนวนไม่เท่ากัน เหมือนกับข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร บางสถาบันอาจมีคณะเพียง 2-3 คณะ บางสถาบันอาจมีมากกว่านั้นได้ บางคณะอาจมีสาขาวิชาสังกัดอยู่เพียงไม่กี่สาขา แต่บางคณะอาจมีอยู่หลายสาขา สามารถทราบข้อมูลเหล่านี้ได้จากหน่วยงานฝ่ายวิชาการเช่นเดียวกัน

3.ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูลคืออะไร
ตอบ คือ การนำเอาข้อมูลหลายๆเรคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูปแบบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ขายอาจประกอบ ด้วยเรคอร์ดของสินค้าหลายๆชนิดที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสสินค้า ชื่อสินค้า ราคาสินค้า และจำนวนที่ขายได้ เป็นต้น

4. ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บหรือรวบรวมก่อนครั้งแรก เพื่อนำไปประมวลผลให้เกิดเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) ในภายหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่ออีกได้ เช่นค่าเฉลี่ยคะแนนของนักศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สามารถบ่งชี้หรือนำไปวิเคราะห์ค่าทางสถิติอีกได้ถือเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งอาจได้มาจากการเก็บรวบรวมคะแนนของนักศึกษาในแต่ละกลุ่มการเรียน(section) ที่ได้ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้น ซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิ เป็นต้น

5.ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร
ตอบ ข้อมูลอาจมีการซ้ำกันเกิดขึ้นได้อยู่เสมอในบางฟีลด์ เช่น ชื่อสินค้า ชื่อตัว หรือนามสกุล อาจมีการใช้ที่ซ้ำกันได้ การแก้ไขในเรื่องการจัดการข้อมูลคือ สร้างคีย์ฟีลด์ (key field) เพื่อใช้อ้างอิงหรือระบุข้อมูลโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการอ้างอิงข้อมูลที่ผิด ซึ่งทำให้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากกว่า คีย์ฟีลด์ในตารางแฟ้มข้อมูลจะเป็นตัวอ้างอิงหรือระบุเรคอร์ดที่ต้องการได้ ปกติจะเลือกฟีลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำกันเลย เช่น ฟีลด์รหัสนักศึกษา ฟีลด์รหัสสินค้า เป็นต้น

6. การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ง่ายและเป็นพื้นฐานมากที่สุด คือแบบใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential file structure) ถือเป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานและสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด โดยจะเรียงลำดับเรคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ การอ่านหรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านโดยตรงไม่ได้ เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคอร์ดใดๆ โปรแกรมจะเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่เรคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคอร์ดที่ต้องการอ่าน จึงจะเรียกค้นคืนเรคอร์ดนั้นขึ้นมา

7. โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มสามารถทำงานได้เร็ว เป็นเพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ การอ่านข้อมูลในเรคอร์ดใดๆสามารถเข้าถึงได้โดยตรง ไม่ต้องรอหรือผ่านเรคอร์ดแรกๆเหมือนกับแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ ก็สามารถเลือกหรืออ่านค่าได้โดยทันที ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีในสื่อประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสก์เก็ตต์หรือฮาร์ดดิสก์

8. เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงาน จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่ต่างคนต่างจัดเก็บข้อมูลแยกกัน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้ทุกฝ่ายหรือทุกหน่วยงานสามารถเลือกใช้ได้และยังทำให้ข้อมูลที่ใช้นั้นมีความตรงกันและลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลลงไปได้ เช่น แต่เดิมข้อมูลที่อยู่ลูกค้าของฝ่ายขายและฝ่ายการเงินต่างก็แยกเก็บกันเอง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าเกิดขึ้น จึงไม่รู้ว่าจะใช้ที่อยู่ใดในการติดต่อดี เพราะฝ่ายหนึ่งอาจมีการแก้ไขให้เป็นค่าที่อยู่ในปัจจุบันแล้ว แต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบและไม่มีการแก้ไขใดๆ หากจะติดต่อกับลูกค้าจริงๆอาจมีปัญหาขึ้น แต่เมื่อนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกัน จึงช่วยลดปัญหาเหล่านี้ลงไปได้

9.ความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล (data redundancy) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ คือการจัดเก็บข้อมูลไว้แยกกันหลายที่ ข้อมูลที่ต้องการจึงอาจมีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกันได้ กล่าวคือมีข้อมูลชุดเดียวกันถูกจัดเก็บใน 2 แฟ้มข้อมูลหรืออาจมากกว่านั้น ทำให้เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลโดยเปล่าประโยชน์ และเมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้น อาจจำเป็นต้องตามไปแก้ไขทุกๆแฟ้มที่จัดเก็บแยกกันอีกเพื่อให้ตรงกัน จึงทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก

10.DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล
ตอบ ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DataBas Management Systems เป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก็สามารถดูแลรักษาฐานข้อมูลได้ รมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยอีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมักจะมีภาษาการจัดการกับข้อมูลโดยเฉพาะเป็นของตนเอง

11. ภาษาที่ใช้สอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านรูปแบบการใช้คำสั่งเฉพาะ เรียกว่าภาษาอะไร จงยกตัวอย่างของคำสั่งประกอบ
ตอบ ภาษาคิวรี่เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลฐานข้อมูลได้ ตัวอย่างของภาษาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ภาษา SQLซึ่งเป็นคำสั่งภาษาที่นิยมใช้กันในระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ในปัจจุบันมากที่สุด ตัวอย่างของคำสั่งต่าง ๆ เช่น
- DELETE ใช้สำหรับลบข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
-INSERT ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆเข้าไปในฐานข้อมูล
- SELECT ใช้สำหรับเลือกข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆที่ต้องการจากฐานข้อมูล
-UPDATE ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล

12. ความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติหรือความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS ประกอบด้วย
-สร้างฐานข้อมูล โดยปกตินั้น การออกแบบฐานข้อมูลอาจต้องมีการเก็บข้อมูลหรือขั้นตอนการ ทำงานของระบบที่จะพัฒนาเสียก่อนเพื่อให้ทราบได้ว่าต้องการฐานข้อมูลอะไรบ้าง ตารางที่จัดเก็บมีกี่ตาราง จากนั้นจึงนำเอามาสร้างเป็นฐานข้อมูลจริงใน DBMS ทั่วโป โดยผ่านเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมซึ่งอาศัยภาษา SQLในการสั่งงาน
- เพิ่มเปลี่ยนแปลงแก้ไขและลบข้อมูล ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วย DBMS นั้น สามารถเพิ่มค่า เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลต่างๆได้ทุกเมื่อโดยเข้าไปจัดการได้ที่ DBMS โดยตรง เช่น เพิ่มค่าเรคอร์บางเรคอร์ดที่ตกหล่น ลบหรือแก้ไขข้อมูลบางเรคอร์ดที่ต้องการ เป็นต้น
- จัดเรียงและค้นหาข้อมูลDBMS สามารถจัดเรียงข้อมูลได้โดยง่าย ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้จัดเรียงแบบใด เรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือเรียงตามลำดับวันเวลาเป็นต้นนอกจากนั้นยังสามารถระบุค่าเพียงบางค่าเพื่อค้นหาข้อมูลได้โดยง่าย เช่น ป้อนอักษร A เพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A ได้ เป็นต้น
- สร้างรูปแบบและรายงาน การแสดงผลบนหน้าจอ (form) และพิมพ์ผลลัพธ์รายการต่างๆออกมาเป็นรายงาน (report) เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่ DBMS สามารถทำได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลดังกล่าว สามารถตรวจสอบหรือแก้ไขรายการที่มีอยู่นั้นได้โดยง่าย

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

1. cross-platform application คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ โปรแกรมประยุกต์ที่สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายๆตัว ซึ่งทำให้การใช้งานมีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ไม่เหมือนกันการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อให้ทำงานข้ามแพลตฟอร์มหรือข้ามระบบปฏิบัติการได้ จึงเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ได้ได้ดีพอสมควร

2. device driver มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงานกับคอมพิวเตอร์
ตอบ มีประโยชน์ในการช่วยให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายที่เชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ชนิดนั้นราบรื่นและสามารถทำงานได้อย่างไม่ติดขัด เมื่อถอด ย้ายหรือติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใหม่อีก ก็สามารถใช้device driver นี้ติดตั้งเพื่อให้เครื่องอื่นๆรู้จักและติดต่อสื่อสารได้อีกเช่นกัน ปกติผู้ผลิตจะแนบตัวโปรแกรมเหล่านี้มาพร้อมกับการซื้ออุปกรณ์แล้วในครั้งแรก

3. เสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ตอบสนองออกมาสั้นบ้าง ยาวบ้างนั้นเกิดจากกระบวนการในขั้นตอนใด และเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น
ตอบ เกิดขึ้นในช่วงขั้นตอนที่เรียกว่า POST หรือ power on self test เพื่อตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด แรม ซีพียูรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เช่นคีย์บอร์ดหรือเมาส์ โดยจะส่งสัญญาณเป็นเสียงสั้นยาวต่างกัน เมื่อพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น

4. ประเภทของการบู๊ตเครื่องมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
1. โคลบู๊ต (cold boot) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (power on) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องจะทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิตช์ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิตช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
2. วอร์มบู๊ต (warm boot) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่าการรีสตารท์เครื่อง (restart)โดยมากจะนิยมใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกันคือ
- กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง
- กดปุ่ม C+a+d จากแป้นพิมพ์
- สั่งรีสตารท์เครื่องได้จากเมนูบนระบบปฏิบัติการได้เลย

5. จงบอกถึงความแตกต่างระหว่างส่วนประสานกับผู้ใช้แบบ Command line และแบบ GUI มาพอสังเขป
ตอบ ส่วนประสานงานแบบ command line จะสนับสนุนให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลคำสั่งด้วยตัวอักษรเพียงเท่านั้น จึงเหมาะกับผู้ที่มีความชำนาญในการใช้งานพอสมควร เนื่องจากต้องจดจำรูปแบบคำสั่งได้ดี สำหรับส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟฟิกหรือ GUI จะสนับสนุนการทำงานแบบรูปภาพคำสั่งมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกและไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งตัวอักษรเหล่านั้น ผู้ใช้เพียงแค่เลือกรายการคำสั่งภาพที่ปรากฎบนจอ ก็สามารถสั่งการให้ทำงานได้ตามต้องการ

6. โครงสร้างแบบต้นไม้ คืออะไร เกี่ยวข้องกับโครงสร้างไฟล์ในคอมพิวเตอร์อย่างไรบ้าง
ตอบ Treelike structure หรือโครงสร้างแบบต้นไม้ เป็นรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลแบบลำดับชั้นนิยมใช้สำหรับการจัดการโครงสร้างไฟล์ในระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำโดยแยกออกเป็นส่วนๆเรียกว่า โฟลเดอร์ เหมือนเป็นกิ่งก้านและแตกสาขาไปได้อีก

7. ส่วนประกอบย่อยของไฟล์ประกอบด้วยส่วนใดบ้าง จงยกตัวอย่างไฟล์มาอย่างน้อย 5 รูปแบบพร้อมทั้งอธิบายด้วยว่าแต่ละรูปแบบมีความหมายเช่นไร
ตอบ ประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วน คือ ชื่อไฟล์ (naming files) และส่วนขยาย (extentions) ยกตัวอย่างไฟล์ 5 รูปแบบได้ดังนี้
1. myprofile.doc ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า myprofile นามสกุลหรือส่วนขยายคือ doc ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทเอกสารงานนั่นเอง (document)
2. report.xls ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า report นามสกุลหรือส่วนขยายคือ xls ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทตารางคำนวณพบเห็นได้กับการใช้งานในโปรแกรม Microsoft Excel
3. present.ppt ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า present นามสกุลหรือส่วนขยายคือ ppt เป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับงานนำเสนอข้อมูล สร้างจากโปรแกรม Microsoft Powerpoint
4. about.htm ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า about นามสกุลหรือส่วนขยายคือ htm ซึ่งเป็นไฟล์ที่เขียนด้วยภาษา HTMLที่ใช้สำหรับการแสดงผลบนเว็บเพจ
5. message.txt ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า message นามสกุลหรือส่วนขยายคือ txt ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทข้อความ มักสร้างจากโปรแกรมประเภท editor ทั่วไป

8. หน่วยความจำเสมือนเกี่ยวข้องกับการจัดการหน่วยความจำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หน่วยความจำเสมือนหรือ virtual memory จะเป็นหน่วยความจำที่ทำงานเหมือนกับ RAM โดยใช้เนื้อที่ส่วนของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่า มาเก็บของส่วนงานทั้งหมดไว้เพื่อเอามาช่วยการทำงานของ RAM เมื่อต้องประมวลผลงานที่มากขึ้น โดยจะแบ่งงานที่มีอยู่ออกเป็นส่วนๆเรียกว่า page ซึ่งจะมีขนาดที่แน่นอน เมื่อใดที่ต้องการประมวลผล ก็จะเลือกเอาเฉพาะเพจที่ต้องการเข้าสู่หน่วยความจำ RAM จนกว่าข้อมูลใน RAM เต็ม จึงจะจัดการถ่ายเทข้อมูลดังกล่าวกลับไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้ RAM มีเนื้อที่เหลือว่างและทำงานต่อไปได้ ทำให้หน่วยความจำสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

9. spolling ที่เกิดขึ้นในการพิมพ์งาน มีหลักการอย่างไรบ้าง
ตอบ หลักการจะอาศัยพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ ใช้เก็บข้อมูลที่อ่านเข้ามาไว้ก่อนที่จะส่งไปที่เครื่องพิมพ์ เพราะการเก็บข้อมูลไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ก่อนจะทำได้เร็วกว่าการเขียนข้อมูลไปที่เครื่องพิมพ์โดยตรง ซึ่งทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะกับการพิมพ์งานพร้อมกันทีเดียวในสำนักงานทั่วไป เพราะสามารถจัดคิวเพื่อส่งพิมพ์ผลลัพธ์ได้ตามลำดับก่อนหลัง

10. ระบบ plug and play คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงาน
ตอบ เป็นคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในระบบปฏิบัติการบางตัวเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ใช้เพียงแค่เชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์ (plug)ก็สามารถใช้งานได้เลยทันที (play)

11. multi-processing คือการประมวลผลงานลักษณะใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
ตอบ เป็นการทำงานเพื่อให้ประมวลผลเร็วขึ้น โดยใช้ซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆคำสั่งงานในเวลาเดียวกัน โดยที่ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวนี้ให้ทำงานด้วยกันได้เป็นอย่างดี และถึงแม้ซีพียูตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็ยังสามารถทำงานแทนกันได้

แแหล่งที่มาของขัอมูล : http://tarl-5432100.blogspot.com

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4


1.คีย์บอร์ดแบบเออร์โกโนมิกส์ ช่วยลดปัญหาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบ
     ตอบ คีย์บอร์ดลักษณะดังกล่าว ถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อมือที่สัมผัสกับคีย์บอร์ดอยู่ตลอดเวลา โดยมีแป้นรองรับการพิมพ์สัมผัสที่ง่ายและเบา มีแท่นวางมือและออกแบบให้สัมพันธ์กับสรีระของแขนและมือให้ทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น


2. ออปติคอลเมาส์มีหลักการทำงานแตกต่างจากเมาส์แบบทั่วไปอย่างไร
      ตอบ เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์จะทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนเหมือนกับเมาส์แบบทั่วไปแต่จะใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง และมีวงจรภายในทำหน้าที่วิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเลื่อนเมาส์ จากนั้นจะแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่งในที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้สายและแบบไม่ใช้สาย


3. OMR คืออะไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบของลักษณะงานที่นำไปใช้
        ตอบ เครื่องมือที่ใช้สำหรับอ่านหรือตรวจสอบคะแนนจากกระดาษคำตอบชนิดพิเศษ หรือชื่อเต็มว่าOptical Mark Reader มักนำไปใช้กับการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การสอบเอ็นทรานซ์ การสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษ การสอบเข้ารับราชการของสำนังานก.พ.โดยจะทำการอ่านเครื่องหมายที่ผู้เข้าสอบได้ทำการระบายไว้ในกระดาษคำตอบที่ออกแบบมาพิเศษ


4. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถือว่าเป็น หัวใจหลักของเครื่องพีซีทุกเครื่อง คืออุปกรณ์ใด เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น
           ตอบ เมนบอร์ด คืออุปกรณ์ที่เป็นเสมือนหัวใจหลักของเครื่องพีซี เนื่องจากเป็นแผงควบคุมวงจรการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด จะขาดไปเสียมิได้ ความสามารถของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรได้บ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆได้หรือไม่นั้นจึงล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่เลือกใช้ทั้งสิ้น


5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาประเภทละ 2 รายการ
           ตอบ สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภทดังนี้
- แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน (disk) ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควร ที่รู้จักกันดี เช่น ฟล็อปปีดิสก์และฮาร์ดดิสก์
- แบบแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดเก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็กต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD และ DVD เป็นต้น
- แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำ
ดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้น
- แบบอื่นๆ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น flash drive,thumb drive หรือ handy drive เป็นต้น อีกชนิดหนึ่งอาจพบเห็นในรูปของแผ่น memory card เพื่อใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทภาพถ่ายหรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพาทั้งหลาย เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น


6. แทรคและเซกเตอร์ในสื่อเก็บข้อมูลจานแม่เหล็กคืออะไร
         ตอบ ความจุของแผ่นดิสก์เก็ตแผ่นนี้ สามารถคำนวณหาได้ดังนี้
ความจุของแผ่นดิสก์เก็ต = 2 X 80 X 9 X 512 bytesพื้นที่เก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยที่แทรคจะเป็นลักษณะของพื้นที่แนววงกลมรอบๆแผ่นจาน จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้นด้วย ซึ่งแผ่นแต่ละแผ่นจะมีความหนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุจึงต่างกันด้วย ส่วนเซกเตอร์นั้น เป็นส่วนของแทรคที่แบ่งย่อยออกมาเป็นส่วนๆ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้วเซกเตอร์ก็เปรียบเหมือนกับห้องพักที่แบ่งให้คนอยู่เป็นห้องๆนั่นเอง


7. แผ่นดิสก์เก็ตต์แผ่นหนึ่งเก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านมี 80 แทรค แต่ละแทรคแบ่งได้ 9 เซกเตอร์ และแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ จงคำนวณหาความจุของแผ่นนี้
   ตอบ  = 737,280 bytes
              = 720 KiB (737,280/1024)
             หรือ = 737.28 KB (737,280/1000)

8. ดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ ดิสเก็ตต์จะมีราคาถูกกว่ามาก แต่จะเก็บข้อมูลได้ไม่มากเท่ากับฮาร์ดดิสก์เพราะมีพื้นที่จานเก็บข้อมูลขนาดใหญ่กว่า ซึ่งประกอบด้วยจานหลายแผ่น ทำให้จำนวนแทรคและเซกเตอร์จึงมีมากตามไปด้วยสำหรับการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านข้อมูลของดิสเก็ตต์จะสัมผัสแผ่นจานทุกครั้งที่อ่าน แต่สำหรับการอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หัวอ่านจะลอยอยู่เหนือแผ่นจาน ไม่มีการสัมผัสตัวแผ่นจานแต่อย่างใด


9. สื่อเก็บข้อมูลประเภท CD และ DVD มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
      ตอบ สื่อเก็บข้อมูลแบบ CD จะเหมาะกับการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลไฟล์การทำงาน ข้อมูลโปรแกรมเพื่อใช้งาน รวมถึงบันทึกเสียงเพลง ส่วนแบบ DVD จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ เก็บข้อมูลได้เยอะมากยิ่งขึ้น สามารถจุมากสุดได้ถึง 17 GB จึงเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลงานทางด้านมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงของทั้งภาพและเสียงมากที่สุดนั่นเอง


10.Point Of Sale คืออะไร
      ตอบ จุดบริการขายที่มักพบตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป โดยผู้ซื้อสามารถนำสินค้ามาชำระเงินยังจุดบริการขายนี้ได้ทันทีซึ่งระบบจะมีการจัดการเกี่ยวกับรายการซื้อขายเองโดยอัตโนมัติ


11. งานเกี่ยวกับการออกใบเสร็จรับเงิน การออกใบกำกับภาษีที่ต้องมีสำเนาหลายใบ ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบใดเครื่องดังกล่าวมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
      ตอบ ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ เนื่องจากลักษณะงานคือการพิมพ์สำเนาหลายๆแผ่นในครั้งเดียวคุณสมบัติของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีความเหมาะสมต่อการใช้งานแบบนี้มากอีกทั้งยังช่วยให้ประหยัดเวลาและสะดวกกว่าที่จะใช้เครื่องพิมพ์แบบอื่นเพื่อพิมพ์ครั้งละแผ่น หลักการทำงานจะอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ตัวกระดาษโดยตรง เมื่อใช้กระดาษสำเนาซ้อนทับจึงให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกับแผ่นต้นฉบับ


12. เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตและแบบเลเซอร์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตอาศัยหลักการพิมพ์โดยใช้ผงหมึกพ่นลงไปบนกระดาษ มีทั้งหมึกสีและขาวดำ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฎิทินหรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ ส่วนเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ราคาอาจแพงกว่าเนื่องจากให้ความคมชัดได้ดี หลักการทำงานจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกลงไปบนกระดาษ คล้ายกับการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนาได้ ปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบสีและขาวดำ



แหล่งที่มา http://tarl-5432100.blogspot.com/

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการอย่างไรบ้าง จงอธิบาย ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือ application software จะถูกติดตั้งและทำงานบนระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้มีทั้งประเภทสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองตามท้องตลาดและพัฒนาขึ้นมาใช้เองเฉพาะกรณี


2.ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไป มีกี่ประเภท จงยกตัวอย่างประกอบตอบ  สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวนิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเป็นต้นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายมุ่งเน้นการให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆคน นิยมใช้สำหรับการประมวลผลงานข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย ซึ่งจะให้บริการข้อมูลต่างๆที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเองระบบปฏิบัติการแบบฝังมักพบเห็นได้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือสมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี เป็นระบบปฏิบัติการที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางระบบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้


3. Symbian OS คืออะไร นิยมใช้กับอุปกรณ์ประเภทใดตอบ  เป็นระบบปฏิบัติการชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกับอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถหลากหลายไม่ใช่เพียงแค่รับ-สายพูดคุยกันในแบบทั่วไปได้อย่างเดียว แต่ยังทำงานอย่างอื่นได้ เช่น การบันทึกการนัดหมาย ท่องเว็บ ส่งและรับอีเมล์รวมถึงรับแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น


4. โปรแกรมป้องกันไวรัส มีความสำคัญอย่างไรกับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ตอบ  เป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับป้องกันปัญหาเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีซึ่งโดยปกติมักจะมีการติดตั้งโปรแกรมนี้ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายหรือการทำงานกับบุคคลอื่นหลายๆคน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนยามคอยตรวจสอบดูแลระบบทั่วไปว่ามีปัญหาใดๆเกิดขึ้นหรือไม่ และจะแก้ปัญหาหรือกำจัดไวรัสดังกล่าวได้อย่างไร ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความปลอดภัยและราบรื่นมากยิ่งขึ้น


5. นายอภิชาติต้องการเก็บข้อมูลไฟล์หลายๆไฟล์ เป็นอันเดียวกันและให้มีขนาดที่เล็กลง ควรจะใช้โปรแกรมประเภทใดตอบ  ควรใช้โปรแกรมประเภทบีบอัดไฟล์ ซึ่งจะทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง และเก็บไฟล์เป็นชิ้นงานเดียวกัน เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถแตกหรือแยกไฟล์ออกมาภายหลังได้ ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น PKZip, WinZip เป็นต้น


6. ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ 3 โปรแกรมตอบ  โปรแกรมประเภท word processing หรือโปรแกรมประมวลคำที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันเป็นอย่างดี พอจะยกตัวอย่าง 3 โปรแกรมดังนี้1. Microsoft Word2. Sun StarOffice Writer3. Pladao Office Writer


7. ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) คืออะไรตอบ  ซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่างๆของโปรแกรมแต่ละตัวมาจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายรวมทีเดียว ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีคือ Microsoft Office, Adobe CS, Macromedia Studioเป็นต้น ซึ่งทำให้การใช้งานมีความง่ายและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพราะโปรแกรมที่นำเอามารวมกันนั้นจะมีคุณสมบัติที่จัดอยู่ในกลุ่มการทำงานแบบเดียวกัน อีกทั้งยังทำให้มีราคาถูกลงกว่าการแยกซื้อซอฟต์แวร์แต่ละตัวมาใช้ด้วย


8.นางสาวศิริพรต้องการทำรายงานการรับจ่ายเงินในแต่ละวันอย่างง่าย ควรใช้โปรแกรมประเภทใดตอบ  ควรใช้โปรแกรมประเภทตารางคำนวณ ซึ่งสามารถสร้างรายงานการรับ-จ่ายเงินประจำวันอย่างง่ายๆได้ โดยป้อนข้อมูลและตัวเลขค่าใช้จ่ายที่ต้องการลงไปในแผ่นตารางคำนวณนั้นและสามารถหาผลลัพธ์อย่างง่ายๆพร้อมทั้งพิมพ์รายงานสรุปยอดหรือเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่างๆออกมาเป็นกราฟได้


9. Internet Ralay Chat คืออะไร แตกต่างต่าง Instant Messaging อย่างไรบ้างตอบ  เป็นโปรแกรมประเภทที่ใช้สำหรับสนทนากลุ่ม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกกลุ่มที่จะสนทนาได้ตามต้องการ สามารถตอบโต้กันได้ได้ด้วยข้อความและคนอื่นๆในห้องสนทนาสามารถเห็นข้อความนั้นได้พร้อมๆกัน เหมือนกับการพูดคุยในที่สาธารณะทั่วไป นอกจากนั้นยังสามารถเลือกสนทนาเพียงรายคนหรือเฉพาะตัวได้ แต่โปรแกรมประเภทส่งข้อความด่วนหรือ instant messagingอาจมีวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างจาก IRC บ้างคือ มุ่งเน้นให้ใช้งานเพื่อส่งหรือฝากข้อความที่ต้องการได้แบบทันทีและนิยมใช้สนทนากันแบบรายบุคคลมากกว่า


10. โปรแกรมประเภทการนำเสนองาน เหมาะสมกับกลุ่มคนประเภทใด จงให้เหตุผลประกอบตอบ  เหมาะสมกับการนำเสนอขายสินค้าของนักขายมืออาชีพ ครู อาจารย์หรือวิทยากรที่ต้องการนำเสนองานให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ เนื่องจากสามารถใส่เทคนิคการนำเสนอผลงานต่างๆเข้าไปได้มากกว่า ทำให้ผู้เข้าชมการนำเสนอดังกล่าวรับรู้ผลิตภัณฑ์หรือสร้างการจดจำได้ง่ายกว่า


11.ในการเรียกค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมใดที่นิยมเอาใช้มากที่สุด และมีคุณสมบัติเด่นๆอะไรบ้างตอบ  โปรแกรมประเภทบราวเซอร์ จะถูกนำมาใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยสามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษรธรรมดา ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงข้อมูลประเภทเสียง


12. จงยกตัวอย่าง web application ที่นักศึกษารู้จักหรือใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3รายการพร้อมทั้งอธิบายหลักการทำงานด้วยตอบ  Web application ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างได้ดังนี้1. Web base mailเป็นโปรแกรมสำหรับใช้งานรับ-ส่งอีเมล์ผ่านเว็บไซท์ที่ให้บริการ โดยเข้าไปใช้งานได้ตลอดเวลาและทุกๆสถานที่ สะดวกต่อการใช้งานเพราะไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมอ่านเมล์ เพียงแค่ป้อนชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเข้าไปในระบบ ก็สามารถใช้งานได้แล้ว2. Bulletin boardเป็นโปรแกรมกระดานข่าว ที่มีไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ หรือสอบถามข้อมูลที่สนใจ โดยจะมีคนมาตอบคำถามหรือพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ โดยจะแสดงคำถามหรือหัวข้อที่มีการโพสต์ไว้ให้ผู้เข้าชมเห็นหรืออ่านได้ทุกคน บางระบบอาจจะมีการสงวนสิทธิ์เฉพาะสมาชิกได้3. Guest bookเป็นโปรแกรมบนเว็บอีกประเภทหนึ่ง มักใช้สำหรับการลงบันทึกการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซท์นั้นๆคล้ายกับกระดานข่าว แต่ไม่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่มุ่งเน้นให้เขียนข้อความถึงเจ้าของเว็บไซท์หรือทีมงานนั้นๆมากกว่า


13. ผู้ที่ทำงานด้านออกแบบและจัดการ website เช่น webmaster ควรจะเลือกใช้โปรแกรมอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนในการทำงานตอบ  งานทางด้านการออกแบบและจัดการ website อาจจำเป็นต้องใช้โปรแกรมเพื่อช่วยเหลือการทำงานดังต่อไปนี้1. โปรแกรมสำหรับออกแบบเว็บเพื่อใช้สำหรับการสร้างรูปแบบของเว็บเพจที่ต้องการ รวมถึงการจัดวางโครงสร้างทั่วไปของแต่ละเว็บเพจ โดยสามารถเลือกใช้โปรแกรมที่มีอยู่ได้ตามความต้องการ ที่รู้จักกันดี เช่นMicrosoftFrontpage, Macromedia Dreamweaver, NetObject Fusion เป็นต้น2. โปรแกรมสำหรับส่งถ่ายข้อมูลเพื่อให้การส่งข้อมูลไปเก็บไว้ยังเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการหรือ web server สามารถทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น อาจเลือกใช้โปรแกรมที่ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างดี เช่น Cute_FTP, WS_FTPเป็นต้น3. โปรแกรมตกแต่งภาพทั่วไปใช้สำหรับการตกแต่งภาพที่จะนำไปใช้เผยแพร่บนเว็บไซท์ให้มีความสวยงามและน่าสนใจ อาจเลือกใช้จากโปรแกรมที่มีความสามารถหลากหลายและเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างดี เช่น Adobe Photoshopเป็นต้น


14. ซอฟต์แวร์ประเภท Open Source คืออะไรตอบ  คือกลุ่มของซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดเผยโค้ดที่ใช้สำหรับเขียนให้คนทั่วไปสามารถนำเอาไปใช้หรือพัฒนาต่อได้ โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแต่อย่างใด ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดด้วย ซึ่งโค้ดที่ได้มานั้นจะมาจากการพัฒนาด้วยทีมงานที่หลากหลายทั่วโลก โดยไม่ได้มุ่งหวังผลทางการค้าแต่อย่างใด


15. ภาษาระดับสูงมาก หรือ very-high level language มีหลักการทำงานอย่างไรบ้างตอบ  ภาษาการเขียนโปรแกรมกลุ่มนี้จะช่วยให้รูปแบบการเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น โดยอาจใช้เพียงแค่หยิบหรือวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไป โดยที่ผู้เขียนโปรแกรมอาจจะรู้เพียงแค่ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้างเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทราบว่ามันจะทำได้อย่างไร เพราะถือเป็นหน้าที่ของภาษาระดับสูงมากนั้นคอยจัดการแทนเอง ทำให้สร้างคำสั่งหรือรูปแบบหลักๆได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาในการอบรมการเขียนโปรแกรมมากนัก เพียงแต่ใช้ความรู้พื้นฐานในการเขียนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเอามาใช้ได้เลยทันที


16 จงยกตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 ไปใช้งาน มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายประกอบตอบ  ตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 ไปใช้ เช่นระบบหุ่นยนต์โดยการสร้างความรู้และการจำไว้ในตัวหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสั่งการให้ทำงานบางอย่างที่ต้องการระบบการสั่งงานด้วยเสียงอาศัยหลักการป้อนข้อมูลด้วยเสียงแทนการพิมพ์หรือป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดเข้าไปตรงๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

แหล่งที่ม่ของข้อมูล  http://junnapas.blogspot.com/2011/09/3.html

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด ประสิทธิภาพของCPU

1. CPU ที่มีประสิทธิภาพดีและเร็ว

ตอบ     i 7 เป็น CPU ที่เป็นระดับสูงของทาง intel สามารถใช้งานได้ด้านประมวลผลสูงๆ ได้ดีไม่ว่าจะเป็นกราฟฟิก การตัดต่อวีดีโอ ตัดต่อรูปภาพ หรือเล่นเกมหลักๆ ต้องเป็นตัวนี้เลย คุณสมบัติคือเป็น CPU ที่มีขนาด 4 Core 8 Threads สามารถที่จะประมวลผลได้เร็วมาก รองรับการใช้งานได้ทุกรูปแบบในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ ความเร็วตามท้องตลาดที่จำหน่ายจะอยู่ที่ 3.4 – 3.9 GHz และมี Socket 1115 และ Socket 2011 ราคาจะอยู่ที่ 9,000 – 35,000 เลยทีเดียวต้องบอกว่าสำหรับผู้ที่มีงบประมาณเยอะและผู้ทำงานด้านคอมพิวเตอร์เป็นหลักถึงจะคุ้มค่า แต่ก็มีหลายฟังก์ชันที่ไม่ครอบคลุม จึงทำให้รีดพลังจริงๆ ของ CPU ตัวออกมาได้ไม่หมด


2. คอมพิวเตอร์รุ่นใดที่มีราคาแพงที่สุด
ตอบ         คอมพิวเตอร์ที่แพงที่สุดในโลก

คอมพิวเตอร์ที่แพงที่สุดในโลก
         รัฐบาลแห่งชาติประเทศญี่ปุ่นมีโครงการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Earth Simulator ขึ้นมา โดยได้มีการประเมินราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวนี้เอาไว้ที่ 400,000,000 USD หรือประมาณ 12,000 ล้านบาท ทำให้มันกลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงที่สุดเท่าที่เคยสร้าง งบประมาณสำหรับโครงการ Earth Simulator นี้ ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานพัฒนาอวกาศแห่งชาติของญี่ปุ่น (NASDA) และสำนักงานพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์พลังงานและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ (PNC) ในปี ค.ศ. 1997 โดยที่บริษัท NEC Corporation เป็นผู้เข้ารอบในการประมูลโครงการได้

Earth Simulator

         ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002, Processor ของ Super Computer จำนวน 640 ตัว ได้ถูกรับรองมาตรฐานโดย Linpack ว่ามีประสิทธิภาพถึง 35.86 TFlop /s ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นเด่นในเว็บไซต์ Top500 Supercomputer ในทันที แต่ท้ายที่สุดมันก็ถูกทุบสถิติลงในปี ค.ศ. 2004 โดยยักษ์ใหญ่อย่าง IBM ซึ่งได้ออกเจ้า BlueGene / L Super Computer มาเป็น Super Computer ที่แรงที่สุดแทน Earth Simulator ยิ่งไปกว่านั้น IBM ยังใช้สถาปัตยกรรมที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าถึงครึ่งหนึ่งในการผลิตอีกด้วย ซึ่งในข้อนี้ยังไม่ได้ทำลายสถิติในเรื่องราคา


คอมพิวเตอร์ที่แพงที่สุดในโลก

        หน่วยประมวลผล (processor) แต่ละตัวของ Earth Simulator ประกอบไปด้วย 8 vector processor ทำงานที่ 500MHz กับ 16GB ของ RAM และโดยที่หน่วยความจำหลักรวมทั้งหมดแล้วในเครื่องคือ 10 TB (10000GB) และระบบปฏิบัติการที่ใช้ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แพงที่สุดในโลกนี้ชื่อ “SUPER-UX” เป็น OS ของ NEC ที่ใช้ระบบปฎิบัติการ UNIX เป็น OS พื้นฐาน ซึ่ง OS นี้ได้ถูกนำมาใช้บนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ NEC’s SX Series ด้วย

        สุดยอดเครื่องคอมที่ราคาแพงที่สุดในโลกเครื่องนี้ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานหลากหลายมาก โดยเป็นโครงการระดับโลก ซึ่งโครงการส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับโลก เช่นบรรยากาศของโลก, สภาพภูมิอากาศ และ รวมไปถึงการจำลองโลก และ มหาสมุทรอีกด้วยคอมพิวเตอร์ที่แพงที่สุดในโลก


แหล่งที่มาของข้อมูล  http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=mku&date=02-09-2012&group=1&gblog=8

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

แบบฝึดหัดท้ายบทที่2

1.ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร ได้อธิบาย
ตอบ ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบที่สามารถจับต้องได้ โดยทั่วไปมักเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่อง
คอมพิวเตอร์และนอกเครื่อง สำหรับซอฟต์แวรเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่สามารถสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการโดยจะบรรจุคำสั่งต่างๆ ที่มีการเขียนขึ้นมาโดยเฉพาะถูกสร้างมาโดยนักเขียนโปรแกรมที่มีความชำนาญ

2.หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งด้วยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงศ์การซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2546เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ การพัฒนาด้านบุคลากร การตลาด การลงทุน กระบวนการผลิต การสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมและพัฒนามาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ สอดรับนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นยุทธศาสตร์หลักในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย ภารกิจหลักของ SIPA เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ประกอบด้วยการกำหนดแผนงานและนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย ภายใต้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้วยการส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้เกิดความรู้และความเชี่ยวชาญ และส่งเสริมการจ้างงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ภารกิจด้านการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ด้วยการสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างแรงจูงใจในการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยการเสนอแนะมาตรการทางด้านภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ส่วนราชการและเอกชน เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำซอฟต์แวร์ไทยไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพในทำงาน รวมทั้งภารกิจด้านการประสานงานกับต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
 
3.นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับใช้งานบางอย่างตามที่ผู้ใช้ต้องการ
โดยจำเป็นต้องมีการศึกษาสำรวจความต้องการโดยรวมของผู้ใช้โดยตรง เพื่อนำเอามาเป็นแนวทาง
ในการออกแบบระบบเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและสามารถใช้งานได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด โดย
ผู้ใช้เองอาจมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อมูลย้อนกลับหรือรูปแบบงานที่ต้อง
การให้กับผู้ออกแบบระบบ เช่น ต้องการให้วางหรือออกแบบระบบบัญชีเพื่อใช้ในสำนักงานนั้นโดย
เฉพาะ ผู้ใช้จำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเบิกรับจ่ายสินค้า การบันทึกสินค้าคงเหลือ การแยก
ประเภทบัญชีให้กับผู้ออกแบบระบบเพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นต้น

4.ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ มีหน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ กลุ่มคนประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้เป็นอย่างดี

5.Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ  เป็นบุคคลในสายงานอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่
พัฒนาขึ้นอย่างมีแผนโดยอาศัยหลักการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น วัดค่าความซับ
ซ้อนของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาตรวจสอบว่า การเขียนโปรแกรมนั้นถูกต้องตามหลักหรือไม่ เป็น
กลุ่มคนที่มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นอย่างดี สามารถเขียนโปรแกรมได้หลายๆ ภาษา บุคคลเหล่านี้สามารถผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี

6.การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ เป็นลักษณะงานที่เกี่ยวกับบุคคลในตำแหน่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก มากที่สุด โดยจะต้องดูแล และบริหารระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มีการติดตั้งระบบของเครือข่ายที่รัดกุม
สร้างระบบบป้องกันการบุกรุกของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีได้เป็นอย่างดี

7.binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ เป็นเลขฐานสองที่ประกอบตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 0 กับ 1 ซึ่งโดยปกติข้อมูลที่จะนำมาใช้กับ
คอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อนจึงสามารถ
เอามาใช้งานในการประมวลผลเลขต่าง ๆ ได้ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอลซึ่งมี2 ลักษณะเท่านั้นคือ เปิด (1) ปิด (2)

8.กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ได้อธิบาย
ตอบ เริ่มจากข้อมูลตัวอักษรจะถูกป้อนเข้าไปยังระบบผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลเช่น คีย์บอร์ดจากนั้นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ของตัวอักษรดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังระบบการทำงาน ของคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปรหัสมาตรฐานที่เข้าใจตรงกัน และนำเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผลและ แปลงกลับออกมาให้อยู่ในรูปแบบของภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านจอภาพ

9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง ได้ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ - สามารถนำเข้าข้อมูลได้ 2 วิธีด้วยกันคือ
- ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device)ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์โดยตรงผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลด้วยว่าเป็นแบบใดและสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ เหล่านั้นได้หรือไม่ ที่รู้จักกันดี เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ไมโครโฟนเป็นต้น
- ใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage)การนำเข้าด้วยวิธีนี้อาจดึงเอาข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บไว้ก่อนหน้านั้นแล้วจากสื่อบันทึกอย่าง ใดอย่างหนึ่งมาใช้ได้ สื่อบันทึกข้อมูลแบบนี้เรียกว่า สื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เช่นฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ ซีดี ดีวีดี แฟร์ตไดร์ เป็นต้น

10.พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ”สมอง”และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง
ตอบ CPU หรือ หน่วยประมวลผลกลางเปรียบเหมือนกับ"สมอง"ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการประมวลผลคำสั่งที่ได้รับมาว่าจะให้ทำอะไรบ้าง ประกอบด้วยหน่วยสำหรับการทำงานแบ่งออกเป็น ส่วน ๆ คือ
- หน่วยควบคุม ( Control Unit )
- หน่วยคำนวณตรรกะ ( Arithmetic Unit)
- ริจิสเตอร์ ( Register )

11.ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ถือว่าเป็นหน่วยความจำเหมือนกัน แต่ ROM เป็นหน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ โดยปกติจะเป็นการเก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะ มีอยู่กับเครื่องอย่างถาวรแม้ไฟจะดับก็ไม่สามารถทำให้คำสั่งต่างๆ หายไปได้ ส่วน RAMเป็นหน่วยความจำอีกแบบหนึ่งแต่เมื่อไฟดับหรือปิดเครื่องข้อมูลต่างๆจะถูกลบเลือนหายไปหมด นิยมใช้สำหรับจด
จำคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังอยู่เพียงเท่านั้น สามาเปลี่ยนแปลงแก้ไข้ได้ตลอดเวลา

12.machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง ได้อธิบาย
ตอบ เป็นวงรอบหนึ่ง ๆ ในการทำงานของ CPU จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลัก ๆ โดยการอ่านและดึงข้อมูลมาจากหน่วยความจำหลัก เพื่อเก็บข้อมูลเข้าสู้รีจิตเตอร์ในส่วนที่เก็บชุดคำสั่งและตำแหน่งสำหรับประมวลผลจากนั้นจะมีการแปลความหมายของชุดคำสั่งว่าจะให้ทำอะไรบ้าง และนำไปทำงานตามที่ได้รับนั้นและเก็บผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้ส่ววนอื่น ๆ เรียกต่อไป โดยจะมีการวนอ่านเพื่อ
ประมวลผลแบบนี้วนช้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมนการทำงานทั้งหมด

13.ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ Exectution Time หรือเวลาปฎิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในวงรอบการทำงานของ CPU ประกอบด้วยขั้นตอนของการปฎิบัติการ (Execute) และขั้นตอนการเก็บผลลัพธ์ (Store)


แหล่งที่มา http://kjuig.blogspot.com/